วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

ปั๊มลมรวมความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์

ปั๊มลมเป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่มีความอเนกประสงค์ใช้งานได้หลากหลายจึงได้รับความนิยมที่จะมีติดครัวเรือนไว้กันอย่างแพร่หลาย สำหรับคนที่ยังไม่รู้จักอุปกรณ์นี้ดีเท่าที่ควรผมหวังว่าบทความนี้น่าจะช่วยให้ความรู้แก่ท่านได้นะครับ


ส่วนประกอบของปั๊มลม
1. หัวปั๊มลม - ผลิตลม
2. มอเตอร์ไฟฟ้า - ต้นกำเนิดพลังงาน
3. ถังเก็บลม - พลังงานที่ได้จะเก็บอยู่ในนี้
4. สวิทซ์ - ควบคุมการทำงานอัตโนมัติ
5. แม็กเนติก - ดูแลและป้องกันการทำงานของมอเตอร์
6. เกจ์วัด - บอกปริมาณลม
7. โปโร - ตัวระบายลมออกจากถังในกรณีที่สวิทซ์ไม่ทำงาน
8. ตัวเช็ควาล์ว - ป้องกันพลังงานย้อนกลับเข้าหัวปั๊มลม
9. สายระบายลม - ระบายลมไปยังถังเก็บลม
10, ท่อทองแดง - ปล่อยลมออกจากสายลดแรงเสียดทานในการทำงาน
11. ตาแมว - ใช้ดูปริมาณน้ำมันหล่อลื่น


การใช้งานเพียงเปิดสวิทซ์เพราะปั๊มลมเป็นแบบออโต้อยู่แล้วจะต้องใช้เวลาในการอัดลมให้เต็มถังและจะหยุดทำงานเมื่อลมเต็มถังแล้ว แต่หากอยากปรับแรงดันจะมีสกรู 2 ตัว ตัวแรกหมุนไปทางขวาแรงดันจะสูงขึ้น และลดลงเมื่อหมุนไปทางซ้าย ส่วนสกรูอีกตัวมีไว้เพื่อคลายออกให้สวิทซ์สั่งหยุดการทำงาน


ข้อควรระวังในการใช้งาน
1. หากปั๊มลมทำงานไม่หยุดหรือนานกว่าปกติต่อครั้งให้ตรวจสอบสวิทซ์ออโต้และสกรูทั้ง 2 ตัวว่ามีการปรับแรงดันเพิ่มหรือไม่
2. ควรใช้งานตามคู่มือไม่ปรับการทำงานเกินขีดจำกัดอุปกรณ์
3. ในกรณีที่ปั๊มไม่สามารถส่งลมลงสู่ถังเก็บได้รวมทั้้งมีอาการลมย้อนกลับให้ตรวจสอบเช็ควาล์วและสายระบายลมว่าชำรุดหรือไม่
4. ระดับน้ำมันหล่อลื่น(ดูตรงตาแมว)ต้องอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่อย่างนั้นปั๊มลมจะร้อนเกินไม่สามารถใช้งานได้




0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น