ประเภทและการทำงานของปั๊มลมแต่ละแบบ
1. ปั๊มลมแบบลูกสูบ (PISTON COMPRESSOR)
นิยมใช้กันมากเพราะสามารถสร้างแรงดันได้ตั้งแต่ 1บาร์ ไปจนถึงระดับพันบาร์(bar) จึงรองรับงานที่ต้องใช้แรงดันลมต่ำ กลาง หรือสูงได้อย่างไรปัญหา มีทั้งแบบสายพานและโรตารี่ที่มีมอเตอร์ช่วยให้ลมเร็วกว่าแบบสายพาน
2. ปั้มลมแบบสกรู (SCREW COMPRESSOR)
นิยมใช้ในโรงงานและอุตสาหกรรม ตัวเครื่องมีกำลังการผลิตที่มีคุณภาพสูง ไม่มีลิ้นในการเปิดปิด ต้องใช้ระบบระบายความร้อนออกจากปั้ม ปั้มลมสามารถจ่ายลม 170 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที พร้อมความดันได้ถึง 10 บาร์
3. ปั้มลมแบบไดอะเฟรม (DIAPHARGM COMPRESSOR)
ปั๊มลมชนิดนี้ใช้ตัวไดอะแฟรมส่งให้ลูกสูบและหัวดูดอากาศแยกออกจากกันแรงลมจึงมีความบริสุทธิ์เพราไม่สัมผัสทั้งโลหะและของเหลวภายใน จึงใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและยา รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นต้น
4. แบบใบพัดเลื่อน (SLIDING VANE ROTARY COMPRESSOR)
แรงอัดอากาศคงที่และไร้เยงดังรบกวนด้วยการพพัดของใบพัดคงงที่ สามารถกระจายลม 4-100 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที และความดันที่ 4-10 บาร์
5. ปั้มลมแบบใบพัดหมุน (ROOTS COMPRESSOR)
ใบพัดหมุน 2 ตัว และโรเตอร์ 2 ดูอากาศฝากหนึ่งไปยังงอีกฝากหนึ่ง และอากาศจะถูกบีบอัดเมื่อถูกส่งไปยังถังเก็บลม ไม่มีลิ้น ไม่ต้องใช้ระบบหล่อลื่น แต่ต้องการระบบระบายความร้อนที่ดี
6. ปั้มลมแบบกังหัน (RADIAL AND AXIAL FLOW COMPRESSOR)
อัตราการจ่ายลมที่มาก ใบพัดจะดูดอากาศเข้ามาจากด้านหนึ่งไปสู่อีกด้านหนึ่งด้วยการหมุนความเร็วสูง ใบพัดจึงสำคัญต่อการผลิตแรงลมมากๆ
การเลือกซื้อปั๊มลมควรคำนึงถึงกำลังแรงดันมากน้อยแค่ไหน ความต่อเนื่องของงาน หรือปริมาณการจ่ายลม ความสะอาดของลมและเสียงการทำงานของเครื่องก็อยู่ในข่ายที่ต้องพิจารณาเช่นกัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น