วอลเปเปอร์ Newyork Loft Style เทรนด์สุดล้ำปี 2017

แบบบ้านไอเดียสุดครีเอทวันนี้กับวอลเปเปอร์สไตล์ Newyork Loft เน้นความดิบกับผนังอิฐบล็อคหรือปูนลอฟท์ แนวทางตอบโจทย์ไลท์สไตล์คนยุคใหม่ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์

ระเบียงบ้านสุดชิคเติมเต็มความสุขวันนี้

ปรับพื้นที่เล็กๆอย่างระเบียงบ้านเป็นมุมพักผ่อนในฝันเติมเต็มความสมบูรย์แบบให้บ้าน โชว์ไอเดียในแบบคุณด้วยชุดเฟอร์นิเจอร์สุดชิคมอบความสะดวกสบาย สีสันสดใส พร้อมดีไซน์แสนครีเอทเกินจินตนาการ

ไอเดียแต่งบ้านธีมงานปาร์ตี้

กิจกรรมแสนอบอุ่นในครอบครัว หรือปาร์ตี้สุดเหวี่ยงกับเพื่อนๆจะสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นด้วยการตกแต่งที่เหมาะสม เชิญชมแนวทางการจัดสถานที่หลากหลายแบบที่คัดสรรมาอย่างดีเพื่อคุณ

เก้าอี้สตูลไอเท็มอเนกประสงค์วันนี้

เฟอร์นิเจอร์สมัยใหม่ที่จะมอบความสะดวกสบายในแนวทางที่แตกต่าง รองรับการนั่ง นอน วางเท้า หรือใช้เป้นโต๊ะกลางสำหรับวางข้าวของ ฯลฯ เก้าอี้สตูลหลากหลายรูปแบบพร้อมแนวทางการตกแต่งยกระดับบ้านวันนี้

แนะนำ Sony Android TV

พบนวัตกรรมสมาร์ททีวีสุดล้ำจาก SONY ชูระบบปฏิบัติการ Android ที่เพียบพร้อมด้วยฟังก์ชั่นอัจฉริยะเพลิดเพลินกับคอนเทนท์ความบันเทิงที่ดีที่สุด อาทิ Facebook, Youtube, Netflix ฯลฯ

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ปั๊มลม แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ปั๊มลม แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

ปั๊มลมรวมความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์

ปั๊มลมเป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่มีความอเนกประสงค์ใช้งานได้หลากหลายจึงได้รับความนิยมที่จะมีติดครัวเรือนไว้กันอย่างแพร่หลาย สำหรับคนที่ยังไม่รู้จักอุปกรณ์นี้ดีเท่าที่ควรผมหวังว่าบทความนี้น่าจะช่วยให้ความรู้แก่ท่านได้นะครับ


ส่วนประกอบของปั๊มลม
1. หัวปั๊มลม - ผลิตลม
2. มอเตอร์ไฟฟ้า - ต้นกำเนิดพลังงาน
3. ถังเก็บลม - พลังงานที่ได้จะเก็บอยู่ในนี้
4. สวิทซ์ - ควบคุมการทำงานอัตโนมัติ
5. แม็กเนติก - ดูแลและป้องกันการทำงานของมอเตอร์
6. เกจ์วัด - บอกปริมาณลม
7. โปโร - ตัวระบายลมออกจากถังในกรณีที่สวิทซ์ไม่ทำงาน
8. ตัวเช็ควาล์ว - ป้องกันพลังงานย้อนกลับเข้าหัวปั๊มลม
9. สายระบายลม - ระบายลมไปยังถังเก็บลม
10, ท่อทองแดง - ปล่อยลมออกจากสายลดแรงเสียดทานในการทำงาน
11. ตาแมว - ใช้ดูปริมาณน้ำมันหล่อลื่น


การใช้งานเพียงเปิดสวิทซ์เพราะปั๊มลมเป็นแบบออโต้อยู่แล้วจะต้องใช้เวลาในการอัดลมให้เต็มถังและจะหยุดทำงานเมื่อลมเต็มถังแล้ว แต่หากอยากปรับแรงดันจะมีสกรู 2 ตัว ตัวแรกหมุนไปทางขวาแรงดันจะสูงขึ้น และลดลงเมื่อหมุนไปทางซ้าย ส่วนสกรูอีกตัวมีไว้เพื่อคลายออกให้สวิทซ์สั่งหยุดการทำงาน


ข้อควรระวังในการใช้งาน
1. หากปั๊มลมทำงานไม่หยุดหรือนานกว่าปกติต่อครั้งให้ตรวจสอบสวิทซ์ออโต้และสกรูทั้ง 2 ตัวว่ามีการปรับแรงดันเพิ่มหรือไม่
2. ควรใช้งานตามคู่มือไม่ปรับการทำงานเกินขีดจำกัดอุปกรณ์
3. ในกรณีที่ปั๊มไม่สามารถส่งลมลงสู่ถังเก็บได้รวมทั้้งมีอาการลมย้อนกลับให้ตรวจสอบเช็ควาล์วและสายระบายลมว่าชำรุดหรือไม่
4. ระดับน้ำมันหล่อลื่น(ดูตรงตาแมว)ต้องอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่อย่างนั้นปั๊มลมจะร้อนเกินไม่สามารถใช้งานได้




วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ปั้มลมแต่ละแบบ แนะนำอุปกรณ์สำหรับบ้าน

ปั๊มลมเครื่องมืออเนกประสงค์ที่ควรมีไว้ช่วยงานในบ้านเพราะมีความหลากหลายในการใช้งานไม่ว่าจะเป็น การใช้ปั้มลมร่วมกับเครื่องจักร , ปั้มลมของเครื่องมือลม , ซ่อมรถ , ปะยาง , พ่นสีรถยนต์ แรงดันในการทำความสะอาด , งานตกแต่งภายใน ฯลฯ นับว่าประโยชน์มากมายคุ้มเงินที่จ่ายไปแน่นอน


ประเภทและการทำงานของปั๊มลมแต่ละแบบ
1. ปั๊มลมแบบลูกสูบ (PISTON COMPRESSOR)
         นิยมใช้กันมากเพราะสามารถสร้างแรงดันได้ตั้งแต่ 1บาร์  ไปจนถึงระดับพันบาร์(bar) จึงรองรับงานที่ต้องใช้แรงดันลมต่ำ กลาง หรือสูงได้อย่างไรปัญหา มีทั้งแบบสายพานและโรตารี่ที่มีมอเตอร์ช่วยให้ลมเร็วกว่าแบบสายพาน

2. ปั้มลมแบบสกรู (SCREW COMPRESSOR)
          นิยมใช้ในโรงงานและอุตสาหกรรม ตัวเครื่องมีกำลังการผลิตที่มีคุณภาพสูง ไม่มีลิ้นในการเปิดปิด ต้องใช้ระบบระบายความร้อนออกจากปั้ม ปั้มลมสามารถจ่ายลม 170 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที พร้อมความดันได้ถึง 10 บาร์

3. ปั้มลมแบบไดอะเฟรม (DIAPHARGM COMPRESSOR)
          ปั๊มลมชนิดนี้ใช้ตัวไดอะแฟรมส่งให้ลูกสูบและหัวดูดอากาศแยกออกจากกันแรงลมจึงมีความบริสุทธิ์เพราไม่สัมผัสทั้งโลหะและของเหลวภายใน จึงใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและยา รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นต้น

4. แบบใบพัดเลื่อน (SLIDING VANE ROTARY COMPRESSOR)
          แรงอัดอากาศคงที่และไร้เยงดังรบกวนด้วยการพพัดของใบพัดคงงที่ สามารถกระจายลม 4-100 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที และความดันที่ 4-10 บาร์ 

5. ปั้มลมแบบใบพัดหมุน (ROOTS COMPRESSOR)
          ใบพัดหมุน 2 ตัว และโรเตอร์ 2 ดูอากาศฝากหนึ่งไปยังงอีกฝากหนึ่ง และอากาศจะถูกบีบอัดเมื่อถูกส่งไปยังถังเก็บลม ไม่มีลิ้น ไม่ต้องใช้ระบบหล่อลื่น แต่ต้องการระบบระบายความร้อนที่ดี

6. ปั้มลมแบบกังหัน (RADIAL AND AXIAL FLOW COMPRESSOR)
           อัตราการจ่ายลมที่มาก ใบพัดจะดูดอากาศเข้ามาจากด้านหนึ่งไปสู่อีกด้านหนึ่งด้วยการหมุนความเร็วสูง ใบพัดจึงสำคัญต่อการผลิตแรงลมมากๆ


การเลือกซื้อปั๊มลมควรคำนึงถึงกำลังแรงดันมากน้อยแค่ไหน ความต่อเนื่องของงาน หรือปริมาณการจ่ายลม ความสะอาดของลมและเสียงการทำงานของเครื่องก็อยู่ในข่ายที่ต้องพิจารณาเช่นกัน